ภาพจาก runningponies.com |
Scientia เป็นรากเดิมในภ.ละตินของคำว่า Science (ไซเอ็นซ์: วิทยาศาสตร์)
ซึ่งมีความหมายว่า "knowledge" (โนวเล็ดจ์: ความรู้, ความรอบรู้, วิทยา)
ถ้าเรามองในทางปรัชญา เราสามารถขยายขอบเขตของคำว่า
Knowledge ..ออกเป็นสองคำ คือ Know + Ledge (ทั้งนี้เพื่อให้ถูกเข้าใจอย่างครบถ้วนโดยบริบทมากขึ้น)
คำว่า "Ledge" (เล็ดจ์) นั้นหมายถึง "ขอบที่ยื่นออกมา-จากฐานตำแหน่งเดิม"
เช่น หิ้งที่ต่อจากผนังสำหรับวางของ
แนวหินที่ยื่นออกจากหน้าผา ขอบปูนที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร เป็นต้น
..ซึ่งเมื่อนำมาวางหลังคำว่า "Know" อันหมายถึง "ความรู้" ..เป็น "Knowledge"..
จึงเป็นการต่อ "ขอบ" ให้ยื่นออกมาจากฐานที่ชื่อ "ความรู้"
ภาพจาก www.pictureofheaven.net |
"วิทยาศาสตร์" (scientia, science) จึงเป็นไปในทิศทางแห่งการ "ตั้งสมมติฐานและหาคำตอบ"
เป็นการขยายขอบของความรู้เดิมไปอย่างไม่สิ้นสุดนั่นเอง
[ไม่ใช่การที่คอยจะหักล้างด้วยความรู้เดิมนัก-
ความรู้ก่อนหน้ามีไว้เป็นฐานและเครื่องมือในการพิสูจน์และคัดกรองเท่านั้น การจะต่อขอบได้จึงต้องใช้สมมติใหม่ๆ]
คอลัมน์ "เดอะ สคีเอ็นเทีย" ของเรา..โดยทั่วไปก็คือคอลัมน์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นั่นเองครับ
แต่ในฐานะที่เรามีความเป็นตัวของตัวเอง เราจึงจะนำเสนอวิทยาศาสตร์ภายใต้ทิศทางของเราเอง
ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มต้นในแง่มุมทาง "ภาษา" ก่อน ..และในบางเรื่องอาจไปถึงฝั่งของ "อภิปรัชญา" (metaphysics)
..เพื่อเป็นแหล่งความรู้และความเข้าใจที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะชน ตามนิยามของ "การศึกษาแห่งชาติ"
(และ การศึกษาแห่งมนุษยชาติ) ซึ่งไม่ได้มีเพียงนักเรียนในระบบโรงเรียนเท่านั้นครับ
แต่หมายถึง "ทุกคน"
.......
0 comments:
Post a Comment
..การแสดงความคิดเห็น..
โปรดเคารพสิทธิผู้อื่น..และ "ไม่ละเมิดพรบ.ICT".
(ผู้ละเมิดฯ จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายระบุไว้สูงสุด)
- สามารถใช้ได้ทั้ง Google Profile, LiveJournal, Wordpress,
...TypePad, AIM, OpenID
- สามารถเลือก Name/URL เพื่อโพสท์ด้วยชื่อหรือนามแฝงได้ (URL เป็นตัวเลือกเสริม)
- หรือเลือก Anonymous หากท่านไม่ประสงค์จะออกนามครับ