มีการจัดสรรปันส่วนด้านจุดมุ่งหมายในการใช้งานที่ชัดเจน
- Timeline - โปรไฟล์บุคคล
- Timeline - แฟนเพจ, ธุรกิจ
- Groups (กับอินเตอร์เฟซใหม่ล่าสุด..?)
ภาพจาก www.socialmer.com |
สำหรับบุคคล ไว้เล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ..ไทม์ไลน์ (Timeline) หรือ "เส้นลำดับเวลา" นั้นคือเส้นตรงแนวตั้งที่อยู่ตรงกลางของหน้า (ต่อจากส่วนปกหรือ cover ลงมานั่นเอง) โดยจะใช้ "จุด" ..เพื่อระบุตำแหน่งของโพสท์สถานะ (status) ตามเวลาที่โพสท์เรียงลำดับตามเวลาจริง โดยที่จุดบนสุดจะเป็นเวลาปัจจุบัน (สถานะล่าสุด) และจุดล่างสุดจะเป็นเวลาแรกเิริ่ม หรือเวลาที่เกิด (ซึ่งเป็นอดีต)
โดยที่เจ้าของโปรไฟล์สามารถ -แทรก- จุดต่างๆ เพื่อเล่าถึงเหตุการณ์ช่วงเวลาสำคัญต่างๆ ของชีวิตได้ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ในฐานะ "ไดอารี่ชีวิต" (ซึ่งเป็นเหมือนการกลับไปที่จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมบล็อก ในรูปโฉมใหม่) ..และบทสนทนาที่สำคัญในกรอบเวลาที่ผ่านไปแล้วนั้น ผู้ใช้สามารถสั่ง "ซ่อนจากไทม์ไลน์" (Hide from Timeline) ซึ่งไม่ใช่เป็นการลบหรือ Delete ออกไป การสั่งซ่อนนั้นทำให้บทสนทนาที่สำคัญๆ สามารถถูกเรียกดูในภายหลังได้ (ทั้งนี้ มีไว้เพื่อให้ไทม์ไลน์แสดงเฉพาะ "เหตุการณ์สำคัญในชีวิต" หรือ "Life Event" เอาไว้ก่อนนั่นเอง ซึ่งสามารถใส่ภาพถ่ายของแต่ละเหตุการณ์ประกอบลงไปได้อีกด้วย)
Timeline - แฟนเพจ, ธุรกิจ
สำหรับองค์กรธุรกิจ ไว้เล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ตั้งแต่-ก่อนก่อตั้ง-จนถึงปัจจุบัน ..ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายกับแบบโปรไฟล์บุคคล คือมีเส้นไทม์ไลน์ในแนวตั้งตรงกลางของหน้า แต่การใช้งานจะต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่อง "โพสท์โดยบุคคลอื่น" ..ที่บนไทม์ไลน์จะแสดงเฉพาะโพสท์ของเพจเท่านั้น ในขณะที่โพสท์โดยบุคคลอื่นจะรวมกันอยู่ในบ็อกซ์ด้านขวาบนไทม์ไลน์ (ชื่อบ็อกซ์ว่า Recent Posts by Others) ฟีเจอร์ใหม่ที่ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของเพจ คือสามารถส่งเมสเซจในนามเพจได้ ซึ่งในแง่แบรนด์ดิ้งแล้ว ถือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลดีมหาศาลทีเดียว
ส่วนการใช้ในฐานะ "แฟนเพจของเรื่องที่สนใจ" นั้น ก็ยังสามารถใช้งานได้เช่นเดิมครับ เพียงแต่อาจทำให้ "แฟนๆ" อาจรู้สึกไม่ค่อยใกล้ชิดกันเหมือนโครงสร้างแบบเดิม แต่ทางออกของปัญหานี้อาจแก้ได้โดยการเปลี่ยนจากแฟนเพจ ไปใช้แบบ "กรุ๊ป" แทน..(ถ้าคุณรับไม่ได้กับไทม์ไลน์จริงๆ นะครับ)
Groups กับอินเตอร์เฟซใหม่ล่าสุด..?
ภาพจาก guerrilla.upblog.org |
..อันที่จริงเป็นการนำเอาอินเตอร์เฟซที่ผู้ใช้เรียกร้องในช่วงก่อนหน้านี้ (การแบ่งเมนูเป็นแท็บแนวนอนที่ด้านบน) + เลย์เอาท์โพสท์แบบเดิม ....มารวมเข้าไว้ด้วยกัน และที่สำคัญคือ "ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของกรุ๊ปนั้นๆ" จึงจะเข้าใช้ได้ (จะสมัครเองหรือเพื่อนพาเข้าก็ตามแต่)
การใช้แฟนเพจในลักษณะ "ชมรม" นั้น จำนวนของไลค์ไม่สามารถอ้างอิงเป็น "จำนวนสมาชิกที่แน่นอน" ได้ เพราะผู้กดไลค์หลายเสียงอาจเป็นเพียงผู้เข้าชมเฉยๆ และไม่มีปฏิสัมพันธ์มากกว่านั้น. ..ซึ่งเท่ากับว่าจะเป็นการใช้งานที่ไม่มีประสิทภาพนัก เนื่องจากเพจที่เป็นของภาคธุรกิจจะไม่มีทางที่จะมียอดไลค์ที่หวือหวาเท่ากับเพจที่ตั้งตามความชอบ ..และทำให้เพจค่อนข้างถูกนำไปใช้สร้างผลประโยชน์ เกิดการสร้างเพจเพื่อจำหน่าย (ขายเพจ) หลังจากที่มียอดผู้กดไลค์จำนวนสูงๆ ซึ่งไม่ใช่การกระทำขององค์กรธุรกิจที่จัดตั้งถูกกฏหมายที่มีการเสียภาษีเพื่อสาธารณะประโยชน์ ...และแน่นอนว่า ทางเฟซบุ๊คไม่ต้องการที่จะ-ตกเป็นเหยื่อ-ในการหาประโยชน์ของเพจลักษณะนี้ เนื่องจากเปิดให้บริการฟรีแก่บุคคลทั่วไปและ "ภาคธุรกิจที่จัดตั้งอย่างถูกกฏหมายและเสียภาษี" นั่นเอง ..คุณจะขายสินค้าของคุณนั้นไม่เป็นไร แต่อย่าขายเพจเป็นสินค้า..เพราะมันไม่ใช่ของคุณ
ซึ่งโดยทั่วไปกล่าวได้ว่า ทาง facebook ต้องการ "จัดระเบียบสังคมออนไลน์ใหม่" ..โดยต้องการให้แฟนเพจที่เคยตั้งในลักษณะชมรม ..ได้ลองพิจารณาหันมาใช้ "กรุ๊ป" แทนนั่นเอง (แต่ก็ไม่ได้ยกเลิกการตั้งเพจเป็น Cause or Community ออกไปนะครับ ยังมีไว้เป็นทางเลือกเพื่อความเหมาะสมอยู่) ด้วยรูปแบบการใช้งานคร่าวๆ ดังต่อไปนี้...
- หน้าตาของโพสท์เป็นแบบดั้งเดิม (ซึ่งไม่ใช่พื้นฐานของเพจแบบไทม์ไลน์แล้ว)
- มี-รายชื่อสมาชิก-ที่แน่นอน
- สามารถแสดงรูปสมาชิกของกรุ๊ป ที่ส่วนหัว (บนสุด) ของหน้ากรุ๊ป
- มีอัลบั้มรูปที่ชัดเจนขึ้น สมาชิกสามารถเข้าใช้ได้ (รวมทั้งการเขียนเอกสาร, กำหนดการณ์ต่างๆ)
- โพสท์ที่มีการแสดงความเห็นล่าสุด จะถูกดึงขึ้นมาบนสุด (เพจไม่มีคุณสมบัตินี้มาแต่เดิม)
- ตั้ง URL ให้กลุ่มได้ โดยการตั้งชื่ออีเมลของกลุ่ม (ทำได้มาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ต้องใช้วิธีกด 25-30 ไลค์แบบเพจ ..ตั้งได้ทันทีเพียงแต่จะมี /groups/... แทรกอยู่เท่านั้น)
- มีแชทบ็อกซ์ (chat box) สำหรับกลุ่มสนทนาสดร่วมกันโดยไม่ต้องคุยกันแต่ในโพสท์ ..เพราะโพสท์ก็คือ "การตั้งกระทู้" นั่นเอง (การสนทนาสัพเพเหระที่ไม่ต้องถึงขั้นตั้งกระทู้ สามารถทำได้ในแชทบ็อกซ์แบบกลุ่มนี้)
การตั้งกรุ๊ปนั้นจะคล้ายกับ "โต๊ะหรือวงสนทนา" (ถ้าเทียบกับกูเกิ้ลพลัส ก็คือ Circle หรือ แวดวง นั่นเอง) ซึ่งถ้าเราเน้นที่การพูดคุยกัน จะ Active กว่าเพจมาก เพราะโพสท์ที่มีการแสดงความเห็นล่าสุด จะถูกดึงขึ้นมาบนสุด..นั่นเอง อีกทั้งยังมีแชทบ็อกซ์ให้พูดคุยสดๆ ได้อีกด้วย (คุณจะรู้แน่ๆ ว่าสมาชิกของกลุ่มมีใครออนไลน์อยู่บ้าง ซึ่งถ้าเป็นเพจคุณจะไม่รู้เลย ถ้าเค้าไม่ได้อยู่ในรายชื่อเพื่อนในโปรไฟล์บุคคลของคุณก่อน)
--------------------------------------------------------------------
ทั้งหมดนี้คือลักษณะการใช้งาน Facebook ในยุคไทม์ไลน์นี้นะครับ
อยากให้ลองศึกษากันดู เพราะถ้าสามารถใช้ได้ตามที่ระบบถูกออกแบบมา
คุณจะพบว่ามันมีประสิทธิภาพสูงมากเลยทีเดียว
ในบทความหน้าเราจะแวะไปดูฟาก Google Plus กันบ้างครับ
โปรดติดตามตอนต่อไปของคอลัมน์ "ไซเบอร์มูฟ"
ได้ที่นี่ .. โครนอสซีน™ ไซเบอร์แม็กกาซีน..ที่เดียวเท่านั้นครับ ^_^
.......
.......
0 comments:
Post a Comment
..การแสดงความคิดเห็น..
โปรดเคารพสิทธิผู้อื่น..และ "ไม่ละเมิดพรบ.ICT".
(ผู้ละเมิดฯ จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายระบุไว้สูงสุด)
- สามารถใช้ได้ทั้ง Google Profile, LiveJournal, Wordpress,
...TypePad, AIM, OpenID
- สามารถเลือก Name/URL เพื่อโพสท์ด้วยชื่อหรือนามแฝงได้ (URL เป็นตัวเลือกเสริม)
- หรือเลือก Anonymous หากท่านไม่ประสงค์จะออกนามครับ