Wednesday, April 18, 2012

"Educational Purposes" ..การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการศึกษา ไม่ควรเป็นข้ออ้างเพื่อการละเมิดฯ


ภาพจาก www.nonprofitlawblog.com
การนำชิ้นงานทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่ม "ลิขสิทธิ์" มาใช้นั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการ
ห้ามใช้ไปในทาง "พาณิชย์" หรือ ค้า-หากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์
..หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในชิ้นงานทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ

แต่ในระดับสากลนั้น จะมี "ข้อยกเว้น" ให้สามารถทำสำเนา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ในระดับของกลุ่มผู้ชม-ผู้ฟังในที่เฉพาะได้ (สำเนาแบบ Physical คือเป็นวัตถุจับต้องได้)

ข้อยกเว้นดังกล่าวคือ.. "ใช้เพื่อการศึกษา"


ภาพจาก amix.dk
ภาพจาก sumag.ship.edu
ภาพจาก i.telegraph.co.uk

ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในชั้นเรียน โฮมสคูล หรือการศึกษาด้วยตนเองตามอัธยาศัยก็ตามแต่
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการที่เราต้องเข้าใจกันเสียก่อนว่า
บริบทการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงการศึกษา นั้นเป็นอย่างไร?

..ในเบื้องต้น ..คือการวางตนแบบ "ผู้ศึกษา" (learner) ..ซึ่งมีบริบททั่วไปดังนี้.......

  • วิเคราะห์ชิ้นงานด้วยหลักทางวิชาการ
  • แยกแยะองค์ประกอบเพื่อค้นคว้าหาที่มา-ที่ไป ทางทฤษฎี
  • วิพากษ์, วิจารณ์, อภิปราย เกี่ยวกับตัวชิ้นงานนั้นๆ
  • เป็นการทดสอบเพื่อหามุมมองแบบ "ผู้สร้างสรรค์" ..ไม่วางตนแบบ "ผู้บริโภค" แห่งผลงานนั้น

มี "ผู้บริโภค" จำนวนไม่น้อยที่อ้างบริบททางการศึกษาและละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ซึ่งโดยมากมักเกิดกับทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่ม "บันเทิง" (Entertainment Products)
(ผู้ที่กระทำเช่นนี้ คือ ผู้ที่ไม่สามารถอธิบายตัวงานออกมาในทางวิชาการใดๆ ได้นั่นเอง)
..ซึ่งก็มีทั้งที่ทำไป (อ้าง) ตามๆ กัน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และโดยเจตนา
กลายเป็น "ความสำคัญผิด" ที่ปฏิบัติอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ส่งผลกระทบทั้งในทางศีลธรรม-จริยธรรม
ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นคดีอาญาซึ่งในบางสถานการณ์ของบางท้องถิ่นเกี่ยวโยงไปถึงการละเมิดกฏหมายอื่น

การศึกษานั้นจะให้คุณประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ 
เพราะเป็นการศึกษาไปให้ถึง "ความคิด" แบบผู้สร้างผลงาน
นำไปสู่การสร้างสรรค์และถือครอง 
งานทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ๆ 
ซึ่งสามารถพัฒนาประเทศและโลก....

..จึงควรถือเป็นหน้าที่ของผู้ที่รู้-ที่ทราบ-ที่เข้าใจ จะต้องให้ความรู้แก่ผู้คนในสังคมไปด้วยกันครับ :)

---------------------------------------------------------------------

ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร.. นั้นเน้นที่ "ความเป็นเจ้าของและการอนุญาตให้กระทำการแทนเจ้าของ" แห่งทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ
การใช้ผลงานในฐานะผู้ใช้ หรือผู้บริโภคนั้น (หรือแม้แต่การใช้เพื่อการศึกษาก็ตาม) ..ควรมี "ค่าตอบแทน" สู่ผู้สร้างสรรค์
เพราะผลงานต่างๆ ล้วนมาจากการลงทุนทางการศึกษาและทดลองไปอย่างมหาศาล
ทักษะในการสร้างสรรค์นั้นแลกมาด้วยความทุ่มเทอย่างมากมาย ทั้งร่างกายและิจิตใจ

..ในระดับสากลจึงให้ความสำคัญกับ "สติปัญญาของมนุษย์" ..ไว้อย่าง -ประเมินค่ามิได้-
โดยถือกันว่า.. "ผลงานนั้นเป็นตัวแทน/ตัวตนภาคหนึ่งแห่งผู้สร้างสรรค์" ..เป็นมุมมองแห่งการเคารพ
ซึ่งเ็ป็นแนวคิดด้านคุณค่าทางนามธรรม อันรับมาในทางปรัชญาั่นั่นเอง..

---------------------------------------------------------------------

กฏหมายด้านนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อ "คุ้มครองผู้สร้างสรรค์ทุกคน" จากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
(เราจะพบจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้อย่างไม่ยาก ว่า.. ผู้สร้างส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการปฏิบัติที่สมควรตามศักยภาพ)
..รวมถึงผู้ที่มีความสามารถที่จะกลายเป็นผู้สร้างสรรค์ในอนาคต เช่นกันครับ

"การแสดงความเคารพในสติปัญญาของมนุษย์"
จัดเป็นเรื่องพึงปฏิบัติทั่วไปของชนชาติที่เจริญแล้วครับ



.......

0 comments:

Post a Comment

..การแสดงความคิดเห็น..
โปรดเคารพสิทธิผู้อื่น..และ "ไม่ละเมิดพรบ.ICT".
(ผู้ละเมิดฯ จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายระบุไว้สูงสุด)

- สามารถใช้ได้ทั้ง Google Profile, LiveJournal, Wordpress,
...TypePad, AIM, OpenID
- สามารถเลือก Name/URL เพื่อโพสท์ด้วยชื่อหรือนามแฝงได้ (URL เป็นตัวเลือกเสริม)
- หรือเลือก Anonymous หากท่านไม่ประสงค์จะออกนามครับ