Wednesday, November 7, 2012

Localization ปัจจัยสำคัญก่อน Globalization ตอนที่ 1.

สังคมไทยยังขาดวิสัยทัศน์แบบ Localization ในระดับภูมิลำเนาหรือท้องถิ่นขนาดเล็ก ๆ ..เพราะมักจะคิดถึงคำว่า Local กันไปในขอบเขตของประเทศ (ส่วนมากใช้คำว่า "ภายในประเทศ")

สิ่งนี้ส่งผลให้เราขาดกระบวนการที่ชัดเจนในฐานะ "กระบวนทัศน์" (กระบวนทรรศน์, Paradigm) ในนิสัยของผู้คนและสังคม ..เพราะที่เป็นอยู่โดยทั่วไป มีกันได้อย่างมากแค่เพียงแนวคิด หรือวิสัยทัศน์..ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืนเอาเสียเลย

สรุปก็คือ เราคิดแบบมีกระบวนกันไม่ได้. ทั้งนี้ก็ด้วยปัจจัยด้านอำนาจในสังคม อันเป็นปมดั้งเดิมของสังคมไทยเองมาเนิ่นนาน

ซึ่งเราจะเห็นกันได้โดยทั่ว ๆ ไปว่า.. เอกชนมักหลีกเลี่ยงที่จะต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐฯ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นเล็ก ๆ ที่อำนาจและอิทธิพลเข้ามาแทรกแซงได้ง่ายและค่อนข้างรุนแรง (ทั้งจากบุคคลในหน่วยงานของรัฐฯ เอง, จากบุคคลภายนอก, เชื่อมโยงทั้งภายในหน่วยงานรัฐฯ กับบุคคลภายนอก ..พบได้ว่ามีหลายมิติที่สถานการณ์สามารถเป็นไปได้)     และนี่ค่อนข้างผลักดันให้กิจการที่มีที่ตั้งในท้องถิ่น (local) ต้องดิ้นรนไปหาช่องทางทำการติดต่อค้าขายกับที่อื่นแทน ซึ่งมันทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนของเศรษฐศาสตร์ในระดับที่จะต้องก้าวมาเป็น "วัฒนธรรม" ..เพราะทำให้เราไม่มีวัฒนธรรมด้านเศรษฐศาสตร์อันจะดำรงอยู่ในนามของ "องค์ความรู้". และทำให้เศรษฐศาสตร์ระดับประเทศไม่มีเสาค้ำที่แกร่งพอ, หวือหวาแค่กิจกรรม (activities and events) หยิบโหย่งช่วงสั้น ๆ ..ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมมิติเดียวเพราะทะลุผ่านอำนาจหรืออิทธิพลลงไปไม่ได้ ..จึงต้องพากันจัดแล้วจัดอีกสิ้นเปลืองงบประมาณในทุกระดับไปอย่างไม่แข็งแรง และเป็นช่องทางหลักของ "คนคอร์รัปชัน" (The Corruptor, Corruptionism.)



.......

0 comments:

Post a Comment

..การแสดงความคิดเห็น..
โปรดเคารพสิทธิผู้อื่น..และ "ไม่ละเมิดพรบ.ICT".
(ผู้ละเมิดฯ จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายระบุไว้สูงสุด)

- สามารถใช้ได้ทั้ง Google Profile, LiveJournal, Wordpress,
...TypePad, AIM, OpenID
- สามารถเลือก Name/URL เพื่อโพสท์ด้วยชื่อหรือนามแฝงได้ (URL เป็นตัวเลือกเสริม)
- หรือเลือก Anonymous หากท่านไม่ประสงค์จะออกนามครับ